RAM คืออะไร
RAM ย่อมาจาก Random Access Memory : หน่วยความจำที่เข้าถึงแบบสุ่ม เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานร่วมกับ CPU ตลอดเวลา สามารถเขียนและอ่านข้อมูลในตำแหน่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระและรวดเร็วกว่าหน่วยความจำประเภทอื่น เช่น Hard Disk Drive หรือ Solid State Drive
ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ RAM จะยังคงอยู่ตราบเท่าที่คอมพิวเตอร์ยังเปิดอยู่เท่านั้น เมื่อใดที่คอมพิวเตอร์ถูกปิด ข้อมูลในหน่วยความจำประเภทนี้จะหายไปด้วย ซึ่งต่างจากหน่วยความจำประเภทอื่น เช่น Hard Disk Drive แม้คอมพิวเตอร์จะถูกปิด ข้อมูลก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม เช่น เราเปิดโปรแกรมเวิร์ดขึ้นมา พิมพ์งาน โปรแกรมที่เปิดขึ้นและงานที่เราพิมพ์อยู่ในหน่วยความจำ RAM ถ้าเราปิดคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้บันทึก ข้อมูลก็จะหายไป แต่ถ้าบันทึกไปไว้ในหน่วยความจำประเภทอื่น เช่น Hard Disk Drive หรือ Flash Drive ข้อมูลก็ยังคงอยู่แม้เราจะปิดคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม
หน้าที่ของ RAM
RAM มีหน้าที่รับคำสั่งจากโปรแกรมต่าง ๆ ที่โหลดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปให้ CPU ประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จ ก็ส่งกลับมาที่ RAM อีกครั้ง หลังจากนั้น RAM จะส่งผลที่ได้กลับคืนไปให้โปรแกรมต่าง ๆ ที่ส่งคำสั่งมา แล้วค่อยแสดงผลทางอุปกรณ์ Output เช่น จอภาพ ลำโพง หรือ พริ้นเตอร์ เป็นต้น
ส่วนประกอบของ RAM
ชนิดของ RAM แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
RAM ที่ช่างมือใหม่ควรรู้จัก
RAM ที่เราควรทำความรู้จักซึ่งจะกล่าวถึง คือ DRAM สำหรับ Desktop และ Notebook เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ช่างมือใหม่ต้องได้เห็นได้สัมผัสแน่นอน
SDRAM : Synchronous Dynamic Random Access Memory
ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1993 เป็น DRAM ที่สามารถซิงโครไนซ์ตัวเองกับสัญญาณนาฬิกาของระบบคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการซิงโครไนซ์นี้ทำให้ SDRAM ทำงานได้เร็วกว่าหน่วยความจำรุ่นก่อน ๆ
ลักษณะของ SDRAM คือ
: สำหรับ Desktop มีจุดบาก (notch) 2 ตำแหน่ง มี 168 Pins
: สำหรับ Notebook มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 144 Pins
ความเร็วของ SDRAM คือ
: SD 66MHz PC66
: SD 100MHz PC100
: SD 133MHz PC133
DDR SDRAM : Double Data Rate Synchronous Dynamic Random Access Memory ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2000 เป็น DRAM ที่พัฒนาต่อจาก SDRAM มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เนื่องจากสามารถเขียนข้อมูลได้ถึงสองครั้งต่อหนึ่งสัญญาณนาฬิกา (จะเรียกว่า DDR1 หรือ DDR เฉย ๆก็ได้) เนื่องจาก DDR SDRAM ทำความเร็วได้เป็นสองเท่าของ SDRAM ทำให้ความเร็วขั้นต่ำของ DDR1 คือ 266MHz (SDRAM PC133 จึงเท่ากับ 133MHz x 2 = 266MHz)
ลักษณะของ DDR SDRAM
: สำหรับ Desktop มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 184 Pins
: สำหรับ Notebook มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 200 Pins (สำหรับ Notebook ที่เป็น MicroDIMM มี 172 Pins)
ความเร็วของ DDR1 SDRAM คือ
: DDR-200MHz PC-1600
: DDR-266MHz PC-2100
: DDR-333MHz PC-2700
: DDR-400MHz PC-3200
DDR2 SDRAM : Double Data Rate Two Synchronous Dynamic Random Access Memory ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 มีการพัฒนา SDRAM ขึ้นมาเป็นเจเนเรชั่นที่สอง มีความเร็วเป็นสองเท่าของ DDR1
ลักษณะของ DDR2 SDRAM
: สำหรับ Desktop มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 240 Pins
: สำหรับ Notebook มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 200 Pins (สำหรับ Notebook ที่เป็น MicroDIMM มี 214 Pins)
ความเร็วของ DDR2 SDRAM คือ
: DDR2-400MHz PC2-3200
: DDR2-533MHz PC2-4200
: DDR2-667MHz PC2-5300
: DDR2-800MHz PC2-6400
: DDR2-1066MHz PC2-8500
DDR3 SDRAM : Double Data Rate Three Synchronous Dynamic Random Access Memory ผลิตขึ้นในปี 2007 เป็น SDRAM ที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทน DDR2 มีความถี่สัญญาณนาฬิกาและแบนด์วิธสำหรับส่งข้อมูลมากขึ้น ใช้แรงดันไฟน้อยลง ทำให้ประหยัดไฟและร้อนน้อยลงไป มีประสิทธิภาพสูงกว่า DDR2
ลักษณะของ DDR3 SDRAM
: สำหรับ Desktop มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 240 Pins
: สำหรับ Notebook มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 204 Pins
ความเร็วของ DDR3 SDRAM คือ
: DDR3-800MHz PC3-6400
: DDR3-1066MHz PC3-8500
: DDR3-1333MHz PC3-10666
: DDR3-1600MHz PC3-12800
: DDR3-1866MHz PC3-14900
: DDR3-2133MHz PC3-17000
DDR4 DDR4 SDRAM (Double Data Rate Foruth SDRAM ผลิตในปี 2014 นับได้ว่าเป็น SDRAM ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน
ลักษณะของ DDR4 SDRAM
: สำหรับ Desktop มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 288 Pins
: สำหรับ Notebook มีจุดบาก (notch) 1 ตำแหน่ง มี 260 Pins
ความเร็วของ DDR4 SDRAM คือ
: DDR4-1600MHz PC4-12800
: DDR4-1866MHz PC4-14900
: DDR4-2133MHz PC4-17000
: DDR4-2400MHzPC4-19200
: DDR4-2666MHz PC4-21300
: DDR4-2933MHz PC4-23400
: DDR4-3000MHz PC4-24000
: DDR4-3200MHz PC4-25600
: DDR4-3466MHz PC4-27700
: DDR4-3600MHz PC4-28800
: DDR4-4000MHz PC4-32000
: DDR4-4133MHz PC4-33000
: DDR4-4500MHz PC4-36000
ช่างมือใหม่ต้องรู้อะไรเกี่ยวกับแรม
RAM ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น แล้วเราควรใส่แรมเท่าไหร่ถึงจะพอ ? การจะกำหนดว่าเราควรใส่แรมให้กับคอมพิวเตอร์เป็นขนาดเท่าใด ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้โปรแกรมบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์สเปคฯเดียวกัน ถ้าใช้งานพิมพ์เอกสาร ติดตั้งแรมเพียง 2GB – 4GB ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้โปรแกรมตัดต่อรูปภาพหรือตัดต่อไฟล์วีดีโอ อาจจะต้องติดตั้งแรม 8GB หรือ 16GB ขึ้นไป
หวังว่าจะเป็นแนวทางสำหรับช่างมือใหม่ ศึกษาเรียนรู้กันไป สักวันจะต้องเข้าใจ และทำได้ในที่สุด… สวัสดีครับ
M | T | W | T | F | S | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |