ช่างคอมมือใหม่ : CPU คืออะไร

CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit เป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่เป็นสมองในการจัดการคำสั่งต่าง ๆ ที่ป้อนเข้ามาแล้วประมวลผลส่งกลับไป เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง บางคนอาจเรียกสั้น ๆ ว่า Processor ซึ่งมีอยู่อุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัทพ์ โทรทัศน์ รถยนต์ แต่ที่จะกล่างถึงต่อไปนี้ เป็นการกล่างถึงเฉพาะ CPU ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์

รูปร่างของ CPU
CPU เป็น Microchip ที่มีมักจะมีรูปร่างสี่เหลี่ยม หรือเป็นสี่เหลืียมที่มีรอยบากหนึ่งมุม (เพิ่อป้องกันความผิดพลาดในการติดตั้ง CPU ลงบนซ็อกเก็ตที่เมนบอร์ด) ถ้าเราดู CPU ในอตีดไม่ว่ายี่ห้ออะไร จะมีขา เหมือนกับเข็มเยอะไปหมดสำหรับใส่ลงไปในช่องของเมนบอร์ด แต่ปัจจุบัน CPU Intel มีรูปแบบเปลี่ยนไป โดยที่ CPU ไม่มีขาแบบเข็มยื่นออกมา มีเพียงปุ่มหน้าสัมผัส สำหรับสัมผัสกับซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ดเท่านั้น

CPU เป็นไมโครชิปที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์  ไม่ใช่กล่องสี่เหลี่ยมที่ตั้งอยู่ข้าง ๆ จอ

CPU Intel รุ่นเก่า (มีขา)
CPU Intel รุ่นใหม่ (ไม่มีขา มีแต่หน้าสัมผัส)
CPU ในความหมายทีแท้จริง
CPU ในความหมายของคนบางกลุ่ม แต่ถ้าเรียกว่า CPU Set ก็คงไม่ผิด

หน้าที่ของ CPU
CPU ทำหน้าที่รับคำแนะนำในการทำงานต่าง ๆ จากฮาร์ดแวร์อื่น ๆ และซอฟท์แวร์ในคอมพิวเตอร์  แม้โดยทั่วไปเราจะพูดกันว่า CPU เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ แต่โดยแท้จริงแล้ว CPU เป็นเพียงชิปที่ฉลาดด้านการคำนวณตัวเลข และคอยคำนวณตัวเลขต่าง ๆ ตามคำแนะนำของซอฟท์แวร์ที่ป้อนเข้ามา  CPU คิดเองไม่ได้ถ้าไม่มีการป้อนคำสั่งหรือคำแนะนำจากซอฟท์แวร์

CPU ทำหน้าที่รับคำสั่งจากฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ที่ป้อนข้อมูล จัดการประมวลผล แล้วส่งผลให้กลับไปให้ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟท์แวร์ที่รับข้อมูล

CPU จะอยู่ในส่วนกลางของกระบวนการทำงาน

จุดเริ่มต้นของ CPU
จุดกำเนิดของ CPU เริ่มจากบริษัท Intel โดยได้รับการช่วยเหลือจาก Ted Hoff และคนอื่น ๆ ในช่วงประมาณปีค.ศ. 1970 โดย CPU ที่ได้รับการผลิตออกมาเป็นครั้งแรกของอินเทล คือ Intel 4004 ตามรูปด้านล่าง

Intel 4004 (wikipedia.org)

ในยุคแรกเริ่ม การตั้งชื่อ CPU จะเป็นไปตามความเร็วและความใหม่ของรุ่น โดยรุ่นที่ใหม่กว่าและเร็วกว่า จะมีตัวเลขที่สูงกว่า เช่น  Intel 4004, …  Intel 80486SX, Intel 80486DX2

ต่อมาในปีค.ศ.1993 Intel ได้ออก CPU รุ่นใหม่โดยไม่ได้ตั้งชื่อเป็นตัวเลขเหมือนแต่ก่อนโดยแทนที่จะตั้งชื่อเป็น Intel 80856 แต่กลับตั้งชื่อเป็น Intel Pentium และได้ใช้ชื่อ “Pentium” มาอย่างยาวนาน แม้ในปัจจุบันที่มีการเรียกชื่อ CPU เป็น Intle Core xxx แต่ก็ยังเรียกชื่อ CPU ราคาประหยัดว่า Pentium อยู่เหมือนเดิม เช่น Intel Pentium G5420 เป็นต้น  

ในปัจจุบัน เรารู้กันว่า CPU ที่มีอยู่ในตลาดคอมพิวเตอร์ คือ Intel และ AMD แต่กว่าจะมีแค่สองรายใหญ่ให้เราได้เลือกใช้ ก็มี CPU ยี่ห้ออื่น ๆ ตามรายทางมากมาย ผู้ที่สนใจประวัติสามารถศึกษาได้จากลิงค์นี้ครับ [ประวัติซีพียู] สำหรับช่างคอมมือใหม่อย่างเรารู้ได้ละเอียดก็เป็นการดี แต่ถ้ารู้ประวัติคร่าว ๆ ก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะโลกปัจจุบัน อยากรู้อะไรก็แค่ปลายนิ้ว ค้นหาได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเตอร์เน็ต

สิ่งที่ช่างคอมมือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับ CPU
     ✪ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มี 2 ยี่ห้อ คือ Intel และ AMD
     ✪ CPU Intel ต้องใส่กับเมนบอร์ดที่รองรับ CPU Intel เท่านั้น
     ✪ CPU Intel แต่ละรุ่น มี Socket ที่แตกต่างกัน ต้องดูข้อมูลคู่มือของเมนบอร์ดแต่ละรุ่นว่ารองรับ CPU  ของอินเทลรุ่นไหนบ้าง
     ✪ CPU Intel แม้จะรุ่นเดียวกัน (มีชื่อเรียกเหมือนกัน) แต่ละ Generation จะมีประสิทธิภาพต่างกัน ต้องดูคู่มือของเมนบอร์ดให้ดีว่ารองรับ CPU อินเทล Generation ไหนบ้าง
     ✪ CPU AMD ต้องใส่กับเมนบอร์ดที่รองรับ CPU AMD เท่านั้น และ CPU AMD ก็มีหลายรุ่น หลายซ็อกเก็ตเช่นเดียวกับ CPU Intel ต้องเช็คข้อมูลเรื่องซ็อกเก็ตและการรองรับซึ่งกันและกันให้ดี

ในอตีต Mainboad รุ่นเดียวกันสามารถรองรับ CPU ได้หลายยี่ห้อ เช่น Socket 7 และ Socket 370 แต่ในปัจจุบันเมนบอร์ดได้แยกตามยี่ห้อของซีพียูอย่างชัดเจน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้อีกแล้ว

CPU Intel และ AMD ที่ช่างคอมมือใหม่ควรรู้
(ประมาณปี 2004-ปัจจุบัน)

Intel Socket 775
– เปิดตัวในปี 2004
– ชื่ออื่น ๆ ที่ใช้เรียก Socket T หรือ Socket LGA 775  (LGA : Land Grid Array)
– CPU Intel Socket 775 เช่น

          : Intel Celeron 400 Series 1.6GHz – 2.2GHz
          : Intel Celeron D 2.4GHz – 3.6GHz
          : Intel Celeron Dual-Core  1.6GHz – 2.6GHz
          : Intel Core 2 Duo 1.8GHz – 3.33GHz
          : Intel Core 2 Extreme 2.66GHz -3.2GHz
          : Intel Core 2 Quad 2.4GHz – .30GHz
          : Intel Pentium 4 2.66GHz – 3.8GHz 
          : Intel Pentium 4 Extreme Edition 3.2GHz – 3.73GHz
          : Intel Pentium D 2.66GHz – 3.6GHz
          : Intel Pentium Dual-Core 1.6GHz -3.06GHz

CPU Intel Socket 775

Intel Socket 1156
– เปิดตัวในปี 2009
– ชื่ออื่นที่ใช้เรียก Socket H1 หรือ Socket LGA 1156
– เป็น CPU Core i3, Core i5, Core i7  Generation ที่ 1
– รหัสเรียกซีพียูเป็นตัวเลข 3 หลัก เช่น Intel Core i3-540
– CPU Intel Socket 1156 เช่น

          : Intel Celeron Dual-Core 2.26GHz
          : Intel Pentium Dual-Core  2.8GHz – 2.93GHz
          : Intel Core i3 2.93GHz – 3.33GHz
          : Intel Core i5 2.4GHz – 3.6GHz
          : Intel Core i7 2.53GHz – 3.06GHz

CPU Intel Socket 1156

Intel Socket 1155
– เปิดตัวในปี 2011
– ชื่ออื่นที่ใช้เรียก Socket H2 หรือ Socket LGA 1155
– เป็น CPU Generation ที่ 2 และ Generation ที่ 3
– รหัสเรีกยซีพียู (ที่เป็น Core i ) จะเป็นเลข 4 หลัก ขึ้นด้วยด้วยเลข 2 จะเป็น Generation ที่ 2 เช่น Core i3-2100  ถ้าขึ้นต้นด้วยเลข 3 จะเป็น Generation ที่ 3 เช่น Core i3-3250)
– CPU Intel Socket 1155 เช่น

          : Intel Celeron Dual-Core 1.6GHz – 2.8GHz
          : Intel Pentium Dual-Core 1.2GHz – 3.3GHz
          : Intel Core i3 2.5GHz – 3.5GHz
          : Intel Core i5 2.3GHz – 3.4GHz
          : Intel Core i7 2.5GHz – 3.5GHz

CPU Intel Socket 1155

Intel Socket 1150
– เปิดตัวในปี 2013 
– ชื่ออื่นที่ใช้เรียก Socket H3 หรือ Socket LGA 1150 
– เป็น CPU Generation ที่ 4 และ Gernation ที่ 5
– รหัสซีพียู (ที่เป็น Core i ) เป็นตัวเลข 4 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 4 และ เลข 5  เช่น Core i3-4330, Core i3-5005U)
– CPU Intel Socket 1150 เช่น

          : Intel Celeron Dual-Core 2.2GHz – 2.9GHz
          : Intel Pentium Dual-Core  2.3GHz – 3.6GHz
          : Intel Core i3 2.9GHz – 3.8GHz
          : Intel Core i5 1.9GHz – 3.5GHz
          : Intel Core i7  2.0GHz – 4.0GHz

CPU Intel Socket 1150

Intel Socket 1151
– เปิดตัวในปี 2015
– ชื่ออื่นที่ใช้เรียก Socket H4 หรือ Socket LGA 1151
– เป็น CPU Generation ที่ 6 และ Generation ที่ 7
– รหัสซีพียู (ที่เป็น Core i ) เป็นตัวเลข 4 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 6 และ เลข 7  เช่น Core i3-6100, Core i3-7100)
– CPU Socket 1151 เช่น 

          : Intel Celeron Dual-Core  G3900 2.8GHz
          : Intel Celeron Dual-Core G3930 2.9GHz
          : Intel Pentium Dual-Core G4400 3.0GHz
          : Intel Pentium Dual-Core G4600 3.6GHz
          : Intel Core i3-6100 3.7GHz
          : Intel Core i3-7100 3.9GHz
          : Intel Core i5-6500 3.2GHz
          : Intel Core i5-7500 3.4GHz
          : Intel Core i7-6700 3.4GHz
          : Intel Core i7-7700 3.6GHz

CPU Socket 1151

Intel Socket 1151 V2
– เปิดตัวในปี 2017
– ชื่ออื่นที่ใช้เรียก Socket H4 หรือ Socket LGA 1151 V2
– เป็น CPU Generation ที่ 8 และ Generation ที่ 9
– รหัสซีพียู (ที่เป็น Core i ) เป็นตัวเลข 4 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 8 และ 9 เช่น Core i3-8100, Core i3-9100 ใช้กับเมนบอร์ด Socket 1151 V2 เท่านั้น Chipset ที่รองรับคือ H310, H360, H370, B365, Q370, Z370, Z390
– CPU Intel Socket 1151 V2 เช่น 

          : Intel Celeron Dual-Core  G4920 3.2GHz
          : Intel Pentium Dual-Core G5400 3.7GHz
          : Intel Core i3-8100 3.6GHz
          : Intel Core i3-9100 3.6GHz
          : Intel Core i5-8500 3.0GHz
          : Intel Core i5-9500 3.0GHz
          : Intel Core i7-8700 3.2GHz
          : Intel Core i7-9700 3.0GHz

CPU Socket 1151 v2

Intel Socket 2066
– เปิดตัวในปี 2017
– ชื่ออื่นที่ใช้เรียก Socket R4 หรือ LGA 2066
– เป็น CPU ประสิทธิภาพสูงที่ออกมาทดแทน CPU Socket 2011 
– CPU Intel Socket 2066 เช่น 

          : Intel Core i9-7900x 3.3GHz 10Cores, 20Threads
          : Intel Core i9-7890E 3.0GHz 18Cores, 36Threads

CPU Socket 2066

AMD Socket AM2, AM2+
– AMD เปิดตัว CPU Socket AM2 ในปี 2006
– เป็น CPU ที่มี 940 pins เช่นเดียวกัน Socket 940 แต่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน DDR2 แบบ Dual-Chanel และรองรับ HyperTransport v2.0
– ต่อมาในปี 2007 AMD ก็ได้เปิดตัว CPU Socket AM2+ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัปเกรดของ AM2   รูปร่างเหมือนกับ CPU AM2 ทุกประการ แต่ได้เพิ่มประสิทธิภาพให้รองรับ HyperTransport v3.0
– ใช้ CPU Socket AM2+ กับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2 ได้ แต่ประสิทธิภาพจะลดลง เพราะเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2 รองรับ HyperTransport v.2 เท่านั้น ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ CPU Socket AM2 กับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2+ ได้เหมือนกัน แต่เฉพาะรุ่นที่ไบออสรองรับเท่านั้น
– AMD CPU Socket AM2, AM2+ เช่น

          : AMD Sempron LE-1250 2.2GHz
          : AMD Sempron 3400+ 1.8GHz

CPU AMD Socket AM2, AM2+

AMD Socket AM3, AM3+
– AMD เปิดตัว CPU Socket AM3 ในปี 2009
– AMD Socket AM3 มี 941 pins (ที่เมนบอร์ด) ส่วนที่ซีพียูจะมี 938 pins
– ต่อมาในปี 2011 AMD ได้เปิดตัว AMD Socket AM3+   เพื่อรองรับซีพียู  Bulldozer 
– AMD CPU Socket AM3, AM3+ เช่น

          : AMD Athlon II X4 650e 2.3GHz
          : AMD Athlon II X4 630 2.8GHz

CPU AMD Socket AM3, AM3+

AMD Socket FM1
– AMD เปิดตัว CPU Socket FM1 ในปี 2011
– AMD Socket FM1 มี 905 pins 
– AMD CPU Socket FM1 เช่น

          : AMD A4-3300 2.5GHz
          : AMD A8-3820 2.8GHz

CPU AMD Socket FM1

AMD Socket FM2
– AMD เปิดตัว CPU Socket FM2 ในปี 2012
– AMD Socket FM2 มี 904 pins 
– AMD CPU Socket FM2 เช่น

          : AMD A4-4000 3.0GHz
          : AMD A8-6500 4.1GHz

CPU AMD Socket FM2

AMD Socket FM2+
– AMD เปิดตัว CPU Socket FM2+ ในปี 2014
– AMD Socket FM2+ มี 906 pins 
– AMD CPU Socket FM2+ เช่น

          : AMD A6-8550 4.0GHz
          : AMD A8-7600 3.1GHz

CPU AMD Socket FM2+

AMD Socket AM1
– AMD เปิดตัว CPU Socket AM1 ในปี 2014 (หรือเรียกอีกอย่างว่า Socket FS1B)
– AMD Socket AM1 มี 721 pins 
– AMD CPU Socket AM1 เช่น

          : AMD Sempron 2650 1.45GHz
          : AMD A8-6410 2.4GHz

CPU AMD Socket AM1

AMD Socket AM4
– AMD เปิดตัว CPU Socket AM4 ในปี 2016 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ CPU AMD ตระกูล Ryzen, เป็นซีพียูรุ่นแรกของ AMD ที่รองรับ Memory DDR4
– AMD Socket AM4 มี 1331 pins 
– AMD CPU Socket AM4 เช่น

          : AMD Ryzen 5 3600 3.6GHz
          : AMD Ryzen 7 3800X 3.9GHz
          : AMD Ryzen 9 3950X 3.5GHZ

CPU AMD Socket AM4

AMD Socket TR4
– AMD เปิดตัว CPU Socket TR4 ในปี 2017 (หรือจะเรียกอีกชื่อว่า Socket SP3r2)
– AMD Socket มี 4094 pins
– AMD CPU Socket  เช่น 

          : AMD Ryzen Threadripper 1920 3.2GHz
          : AMD Ryzen Threadripper 1920x 3.5GHz
          : AMD Ryzen Threadripper 1950x 3.4GHz

CPU AMD Socket AM1

เนื่องจาก CPU มีหลายรุ่น หลายซ็อกเก็ตเหลือเกิน ถ้าใครจำได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าจำไม่ได้ สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ จะสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ไหน ใช้คำอะไรในการค้นหา  เนื้อหาข้างต้นหวังว่าจะพอเป็นแนวทางให้ช่างคอมมือใหม่ได้เริ่มมีช่องทางในการหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ CPU นะครับ สวัสดีครับ