ช่างคอมมือใหม่ : Mainboard คืออะไร
Mainboard คือแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น CPU, Memory , Hard Disk Drive, VGA Card, Printer เป็นต้น โดยอาจเชื่อมต่อผ่าน Slots ที่มีอยู่บนเมนบอร์ดโดยตรง หรือเชื่อมต่อผ่านสายแล้วคอนเน็คกับพอร์ตของเมนบอร์ดอีกทีก็ได้
Mainboard เป็นคำที่คนทั่วไปนิยมเรียกกัน บางคนอาจจะเรียกว่า Motherboard และเขียนเป็นคำย่อว่า MB ก็เป็นอันเข้าใจตรงกันว่า คือเมนบอร์ด (บางคนอาจจะเรียกว่า Systemboard)
Mainboard = บอร์ดหลัก
Motherboard = บอร์ดแม่
Systemboard = บอร์ดของระบบ
IBM Personal Computer ที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1981 ได้ชื่อว่าเป็นเมนบอร์ดรุ่นแรกของโลก โดยในขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า “Planar”
เมนบอร์ดนับได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผู้ผลิตหลากหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็มีหลายสเปคฯ หลายรุ่นแล้วแต่ใครจะต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองมีจุดเด่นด้านใด ปัจจุบันเมนบอร์ดที่นิยมในประเทศไทยได้แก่ ยี่ห้อ Asrock, Gigabyte, MSI, Asus, Biostar ส่วนในคอมพิวเตอร์แบรนด์เนมแม้จะมีรุ่นของเมนบอร์ดเป็นของตนเอง แต่มักจะเป็นเมนบอรด์ OEM ที่ผลิตโดยบริษัทต่าง ๆ ข้างต้นและมีรูปแบบของเมนบอร์ดเฉพาะของตน เมนบอร์ดที่เคยมีในอตีดแต่ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นในตลาด ได้แก่ Lemel, Aopen, Abit, Intel, DFI, PC Chips, P&A, ECS เป็นต้น
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
ส่วนประกอบของเมนบอร์ดแต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันไป ส่วนประกอบบางอย่างมีความจำเป็น ขณะที่บางอย่างจะมีหรือไม่มีก็ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนประกอบที่ผู้เขียนคิดว่า จำเป็นสำหรับช่างคอมมือใหม่ที่จะต้องรู้ (การเรียงลำดับต่อไปนี้ ไม่ได้เน้นความสำคัญมาก-น้อย แต่เรียงตามรูปด้านล่างเพื่อให้ดูง่าย)
- CPU Fan Connector สำหรับเสียบสายไฟพัดลมระบายความร้อนซีพียู
- Memory Slots สำหรับติดตั้ง Memory
- 24-pin ATX Power Connector สำหรับเสียบไฟเลี้ยงเมนบอร์ดทั้งระบบ คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะใช้เพียง 20-pin แต่ปัจจุบันใช้เป็น 24-pin แต่ที่สายเพาเวอร์ซัพพลาย ยังทำแบบ 20-pin+4-pin เพื่อให้สามารถใช้กับเมนบอร์ดรุ่นเก่าได้ด้วย
- CPU Socket ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียู ปัจจุบันแยกออกชัดเจนระหว่าง CPU Intel กับ AMD
- USB 3.0 Headers สำหรับเชื่อมต่อกับพอร์ต USB 3.0 หน้าเคส
- SATA Connector สำหรับเสียบสายสัญญาณอุปกรณ์ที่เป็น SATA (Serial ATA) ได้แก่ Hard Disk Drive, Solid State Drive, Optical Disk Drive
- CMOS Battery เป็นถ่านกระดุมเบอร์ CR2032 3V ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับเมนบอร์ดทั่วไป ส่วน CMOS Battery ในโน้ตบุ๊คอาจมีขนาดแตกต่างจากนี้บ้าง
| ตัวเลข 20 : ขนาดความกว้างของแบตเตอรี่ 20 มม. | ตัวเลข 32 : ขนาดความหนาของแบตเตอรี่ 3.2 มม.
- Expansion Slots สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น VGA Card, Sound Card, Lan Card เป็นต้น
: ISA Slot สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบ ISA
: PCI Slot สำหรับติดตั้งอุปกรณ์การ์มีการเชื่อมต่อแบบ PCI
: AGP Slot สำหรับติดตั้งการ์ดจอที่มีการเชื่อมต่อแบบ AGP
: PCI Express สำหรับติดตั้งอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อแบบ PCI Express - Chipset เป็นตัวควบควมการทำงานทั้งหมดของเมนบอร์ด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Northbridge และ Southbridge
- Clear CMOS Jumper ตำแหน่งสำหรับซ็อตจัปเปอร์เพื่อเคลรียร์การตั้งค่าในไบออส
- System Panel Connector (Front Panel) จุดสำหรับเสียบสายจากหน้าเคส เพื่อต่อกับ ปุ่มเปิด-ปิด, ปุ่มรีเซ็ต, ไฟ LED แสดงสถานะต่าง ๆ รวมทั้งลำโพงเสียงบี๊บของคอมพิวเตอร์
- USB 2.0 Headers สำหรับเชื่อมต่อกับพอร์ต USB 2.0 หน้าเคส
- Parallel Port Connector สำหรับเสียบสายเพิ่ม LPT Port
- Serial Port Connector สำหรับเสียบสายเพิ่ม Serial Port (COM Port)
- Front Audio Connector สำหรับเชื่อมต่อกับแจ็คลำโพงและไมค์ที่ต่อมาจากด้านหน้าเคส
- System Fan Connector สำหรับเสียบไฟเลี้ยงพัดลมเคส
- 4-pin P4 Power Connector สำหรับเสียบสายไฟ 12V จากเพาเวอร์ซัพพลาย ปัจจุบันบางเมนบอร์ดอาจเป็น 8-pin โดยสายจากเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นประสิทธิภาพสูงมักจะเป็น 8-pin แต่สามารถแยกออกจากกันได้ (4-pin+4-pin)
- Back Panel Ports พอร์ตที่อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งมองเห็นได้ด้านหลังเคสคอมพิวเตอร์หลังจากที่ติดตั้งแล้ว
: PS/2 พอร์ตสำหรับคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ที่เป็นแบบ PS/2 โดยปกติจะมีการแยกกันอย่างชัดเจน พอร์ตสีม่วงสำหรับคีย์บอร์ด ส่วนพอร์ตสีเขียวสำหรับเม้าส์ แต่ถ้าเมนบอร์ดรุ่นใดมีพอร์ต PS/2 เพียงพอร์ตเดียว สีที่พอร์ตจะแบ่งครึ่งระหว่างสีม่วงกับสีเขียว แสดงว่ารองรับทั้งคีย์บอร์ดและเม้าส์
: Serial Port หรือ COM Port สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบ Serial
: Parallel Port หรือ LPT Port สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบ Parallel
: USB Port สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB
: VGA Port สำหรับเชื่อมต่อกับจอที่เป็นแบบ VGA
: DVI Port สำหรับเชื่อมต่อกับจอที่เป็นแบบ DVI
: HDMI Port สำหรับเชื่อมต่อกับจอที่เป็นแบบ HDMI
: Display Port (DP) สำหรับเชื่อมต่อกับจอที่เป็นแบบ DP
: RJ-45 Port สำหรับเชื่อมต่อกับสายแลน
: Audio Jack สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสียง
: S/PDIF Connector สำหรับต่อสายสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ที่คิดค้นโดย Sony และ Philips (Sony Philips Digital Interface) - Floppy Disk Drive Connector สำหรับเสียบสายสัญญาณอุปกรณ์อ่านฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว
- ATA Conntector สำหรับเสียบสายสัญญาณอุปกรณ์ที่เป็น ATA หรือจะเรียกว่าช่อง IDE หรือ PATA ก็ได้ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว แต่ยังเห็นบ้างในเมนบอร์ดบางรุ่น
ATA : advanced technology attachment
IDE : Integrated Drive Electronics
PATA : Parallel ATA - อื่น ๆ
Mainboard มักจะเป็นตัวเลือกลำดับที่สอง รองจาก CPU เพราะคนส่วนมากมักจะตั้งเป้าหมายว่าจะใช้ CPU ยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วค่อยมาเลือกว่าเมนบอร์ดรุ่นไหนบ้างที่ใช้ได้กับ CPU ที่เลือกไว้ แล้วเลือกรุ่นที่มีพอร์ตการเชื่อมต่อต่าง ๆ ครบตามที่ตนเองต้องการ สำหรับช่างมือใหม่สิ่งที่ควรคำนึงเป็นพิเศษก็คือ ต้องอ่านคู่มือเมนบอร์ดให้ดี สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกเมนบอร์ดก็คือ
- ใช้กับ CPU อะไรได้บ้าง
- ใช้กับ Memory รุ่นไหน มีกี่สล๊อต เพิ่มได้สูงสุดเท่าไหร่
- ใส่ Hard Disk Drive ได้กี่ลูก
- ใส่ SSD M.2 ได้หรือไม่ ถ้าใส่ได้ เป็น SSD M.2 แบบ SATA หรือ PCIe NVMe
- มีสล๊อตเพิ่ม VGA หรือไม่
- พอร์ตการใช้งานเฉพาะด้าน มีหรือไม่ เช่น PS/2, COM Port, LPT Port, USB Type-C เป็นต้น
เราไม่จำเป็นจะต้องจำได้ทุกอย่าง แต่เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า เมื่อเราต้องการรู้ในสิ่งที่เราจำไม่ได้ เราจะหาข้อมูลได้จากไหน… สวัสดีครับ