ช่างคอมมือใหม่ : Hard Disk คืออะไร

ช่างคอมมือใหม่ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์

eaksamwa favicon

โดย เอกสามวา

Hard Dsik คืออะไร

Hard Disk มีคำเรียกเต็ม ๆ ว่า Hard Disk Drive มักเขียนตัวย่อว่า HDD. เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่บันทึกข้อมูล ทั้งที่เป็นระบบปฎิบัติการ โปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งไฟล์ต่าง ๆ  มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กสำหรับเก็บข้อมูล หมุนด้วยมอเตอร์ความเร็วสูง  การเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ไม่เหมือนกับ RAM เพราะเมื่อบันทึกข้อมูลงในฮาร์ดดิสก์แล้ว แม้จะปิดคอมิวเตอร์ ข้อมูลก็ยังคงอยู่ในฮาร์ดดิสก์เหมือนเดิม  

ส่วนประกอบของ Hard Dsik Drive

ส่วนประกอบหลักของฮาร์ดดิสก์ ได้แก่
1. Read/Write Heads หัวอ่าน-เขียน ลักษณะเป็นขดลวด ทำหน้าที่อ่านหรือเขียนข้อมูลบนจานแม่เหล็ก โดยรับคำสั่งจากตัวควบคุม
2. Read/Write Actuator Arm แขนหัวอ่าน-เขียน ลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาว ทำหน้าที่เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งจานแม่เหล็กที่จะอ่านหรือเขียนข้อมูล โดยรับคำสั่งจากวงจรควบคุม
3. Disk Platters จานแม่เหล็ก ลักษณะเป็นจานกลมเคลือบด้วยสารแม่เหล็กซ้อนกันอยู่หลาย ๆ ชั้น ทำหน้าที่เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ
4. Spindle Motor มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ทำหน้าที่ควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการอ่าน หรือเขียนข้อมูล
5. Logic Board แผงวงจรควบควมการทำงานของดิสก์และเป็นส่วนที่สื่อสารกับส่วนอื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์
6. Case เคส ได้แก่กล่องทรงสี่เหลี่ยมที่บรรจุอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์

ขนาดของ Hard Didk Drive

ขนาดของฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้กับพีซีและโน้ตบุ๊คโดยทั่วไปในปัจจัน มีอยู่ 2 ขนาดคือ 

1. ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5″  นิยมใช้กับ Notebook (ใช้กับ Desktop ก็ได้)

ขนาดที่แท้จริงของฮาร์ดดิสก์ 2.5 นิ้ว คือ
: กว้าง 2.7 นิ้ว
: ยาว 3.96 นิ้ว
: สูง (ความหนา) 0.37 นิ้ว (อาจไม่มีขนาดต่างจากนี้บ้าง แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ)

ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว

2. ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5″ นิยมใช้กับ Desktop (ไม่สามารถใช้ติดตั้งภายในโน้ตบุ๊คได้)

ขนาดที่แท้จริงของฮาร์ดดิสก์ 3.5 นิ้วคือ
: กว้าง 4 นิ้ว
: ยาว 5.79 นิ้ว
: สูง(ความหนา) 1.03 นิ้ว (อาจไม่มีขนาดต่างจากนี้บ้าง แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ)

ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว

ขนาดของจานแม่เหล็กฮาร์ดดิสก์ทั้งสองขนาด 

จานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว
จานแม่เหล็กขนาด 3.5 นิ้ว

อะไรที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ความจุเท่ากัน แต่ราคาต่างกัน

สิ่งที่ช่างมือใหม่ต้องรู้ หรือถ้าไม่รู้ก็ต้องหาข้อมูลมาให้ได้ก็คือ อะไร ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ความจุเท่ากัน แต่ราคากลับต่างกัน รวมถึงคุณภาพโดยรวมก็ต่างกัน

1. RPM ความเร็วรอบในการหมุนของฮาร์ดดิสก์  ในเวลาหนึ่งนาทีฮาร์ดดิสก์ที่หมุนได้จำนวนรอบมากกว่า ย่อมทำให้การอ่าน-เขียนข้อมูลได้เร็วกว่า  ฮาร์ดดิสก์สำหรับโน้ตบุ๊คและพีซีจะมีความเร็วรอบในการหมุนของฮาร์ดดิสก์ที่ 5400,   5900,  7200 รอบต่อนาที ส่วนฮาร์ดดิสก์สำหรับเซิร์ฟเวอร์จะมีความเร็วที่ 10000,   15000 รอบต่อนาที [ RPM : round per minute ]

2. Buffer ของฮาร์ดดิสก์ บัฟเฟอร์ก็คือ แรมนั่นเอง ยิ่งมีมากก็ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพอ่าน-เขียนของฮาร์ดดิสก์เร็วขึ้นไปด้วย ปัจจุบันบัฟเฟอร์ของฮาร์ดดิสก์ที่มีขายในตลาดอยู่ที่ 64MB, 128M และ 256MB

3. Interface ของฮาร์ดดิสก์ คือรูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดิสก์กับเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ เช่น IDE, SATA, SCSI, SAS, NL-SAS

4. Tranfer Rate คือความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล  เช่น  110MB/s, 150MB/s เป็นต้น 

5. เทคโนโลยีและเฟิร์มแวร์ของฮาร์ดดิสก์นั้น ๆ รวมทั้งคุณสมบัติเฉพาะด้านที่ผู้ผลิตเจาะจงผลิตมาเพื่ออุปกรณ์บางอย่างโดยเฉพาะ

ตัวอย่างการเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ให้เหมาะกับงาน (ขนาด 1-2TB)

ปัจจุบันการแสวงหาข้อมูลไม่ใช่เรื่องยาก เพราะฉะนั้น แค่สละเวลาค้นคว้า อ่านเพียงไม่นาน เราก็จะรู้ว่าวิธีเลือกฮาร์ดดิสก์ให้เหมาะกับงานที่เราจะใช้

Hard Diskสเปคฯโดยลักษณะงานที่ใช้
WD GREEN64MB, 7200RPMสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป มีเทคโนโลยีช่วยลดความร้อน
WD Blue64MB, 7200RPMสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
WD Purple64MB, 5400RPMสำหรับกล้องวงจรปิด ทำงานได้ในสภาพอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
WD Red64MB, 5400RPMสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น NAS
WD Black64MB, 7200RPMสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ได้
 SEAGATE Barracuda 64MB, 7200RPM สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
SEAGATE Firecuda64MB, 7200RPMสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ต้องการประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เช่น Gaming PC
SEAGATE Skyhawk64MB, 5900RPMสำหรับกล้องวงจรปิด ทำงานได้ในสภาพอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
SEAGATE Ironwolf64MB, 5900RPMสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น NAS
SEAGATE Ironwolf Pro128MB, 7200RPMสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น NAS ที่ต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

คิดว่าข้อมูลที่รวบรวมไว้คงพอเป็นแนวทางในการเรียนรู้สำหรับช่างคอมมือใหม่นะครับ สวัสดีครับ