สำนักงานขนาดเล็ก จำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ไหม

               จากคำถามตามหัวข้อ จำเป็นไหม?   ขนาดขององค์กรคงไม่ใช่เหตุผลหลักที่จะนำมาพิจาณาว่า ควรจะต้องมีเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ แต่รูปแบบการทำงาน รูปแบบการใช้แอพพลิเคชั่น รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลต่างหาก ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าองค์กรของเราต้องมีเซิร์ฟเวอร์แล้วหรือยัง

  • โปรแกรมที่ต้องใช้งาน เช่น มีแค่เพียงโปรแกรมออฟฟิศ หรือมีโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่ต้องเก็บฐานข้อมูลไว้ในส่วนกลาง
  • ข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ใช้งานเฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ หรือต้องเก็บไว้ในส่วนกลาง เพื่อแชร์ให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เข้ามาใช้งานได้ด้วย
  • ความปลอดภัยของข้อมูล สำคัญมากน้อยแค่ไหน สูญหายได้หรือสูญหายไม่ได้  ต้องมีการสำรองที่ดีหรือไม่
  • ปัจจัยอื่น ๆ

               หากองค์กรนั้น ๆ มีความจำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จะต้องมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วเซิร์ฟเวอร์ที่จะนำมาใช้ ต้องมีสเปคฯขนาดเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสม  เนื่องจากราคาที่ต่างกันมาก สเปคฯ ก็แตกต่างกันมากเช่นกัน บางทีเราซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพที่มันเพิ่มราคามา ก็ไม่มีประโยชน์  สิ่งที่เราควรนำมาพิจาณาในการเลือกซื้อเซิร์ฟเวอร์  นอกจากเรื่องราคาที่จะไม่ขอพูดถึงแล้ว จะยกส่วนที่ควรนำมาพิจาณาพอเป็นแนวทางดังนี้

  1. CPU ควรจะต้องเป็นซีพียู Intel Xeon ซึ่งเป็นชิปประมวลผลสำหรับเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ ส่วนจะเป็น Xeon รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ ก็พิจารณาเป็ราย ๆไป และควรดูด้วยว่า สเปคฯที่ต้องการซื้อเป็นแบบ CPU เดียว หรือสามารถเพิ่มได้เป็นสอง CPU เพราะน้อยมากที่องค์กรขนาดเล็กจำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นสองซีพียู  หากเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถอัปเกรดเป็นสองซีพียู  เราอาจเสียเงินฟรีตั้งแต่ต้น เพราะคงไม่ได้อัปเกรดเพิ่มซีพียู แต่เสียเงินเอาสเปคฯที่สูงเกินจำเป็นมา
  2. Memory ณ ปัจจุบัน ขั้นต่ำก็ควรเป็น 8GB  ตรวจสอบเพิ่มเติมว่าสามารถเพิ่มได้หรือไม่
  3. Hard disk ความจุ/ความเร็ว ขึ้นอยู่กับว่าเราเน้นที่จุดไหน  ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบต่ำ จะได้ความจุสูง ราคาต่ำ ในขณะเดียวกันฮาร์ดดิสก์ความเร็วรอบสูง จะได้ความจุต่ำ แต่ราคาสูง  นอกจากนั้น อาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยว่า จะต้องใช้ฮาร์ดดิสก์กี่ลูก ต้องเซ็ต Raid ด้วยไหม ถ้าต้องเซ็ต Raid จะต้องเลือก Raid แบบไหน
  4. Power Supply  จะเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่มีเพาเวอร์ซัพพลายหนึ่งตัว หรือแบบสองตัว   เพราะแบบที่มีเพาเวอร์ซัพพลายสองตัว นั่นหมายความว่า ระบบของเราก็จะเสถียร์ขึ้น
  5. รูปแบบการใช้เซิร์ฟเวอร์  หากต้องใช้โปรแรมสำเร็จรูป ก็ต้องดูว่าโปรแกรมแบบไหน ต้องใช้สเปคฯเครื่องแบบไหน หากต้องใช้แชร์ไฟล์ ก็ดูขนาดของไฟล์ที่ต้องการแชร์
  6. จำนวนผู้ใช้งานที่ต้องการเชื่อมต่อมายังเซิร์ฟเวอร์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา เพราะเซิร์ฟเวอร์แต่ละรุ่น ก็มีความสามารถในการรองรับไคลเอ็นท์ที่แตกต่างกันไป

เนื่องจากองค์กรขนาดเล็ก คงไม่มีพนักงานด้านไอทีประจำ เพราะฉะนั้น หากต้องการเซิร์ฟเวอร์สักเครื่อง ก็คงต้องกำหนดงบประมาณ เขียนความต้องการ แล้วค้นหาข้อมูลให้เยอะที่สุด ให้ตรงตามความต้องการขององค์กรที่สุด และให้อยู่ในงบประมาณขององค์กรที่สุดเช่นกัน