ประสบการณ์เวนคืน กรมธรรม์ประกันภัย (ประกันอัคคีภัย)

               เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสรีไฟแนนซ์บ้านที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นทาวน์เฮ้าส์  จากธนาคารกรุงเทพ  มาเป็นธนาคารออมสิน   ก็เป็นไปด้วยดี จดถ่ายถอนจำนอง แล้วก็จดจำนองใหม่เป็นที่เรียบร้อย  อยู่ ๆ ก็ได้รับจดหมายจาก บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)  ทำนองว่า ผมได้หมดภาระหนี้กับธนาคารกรุงเทพแล้ว ผมจึงเป็นผู้รับประโยชน์จากกรรมธรรม์อัคคีภัยแต่เพียงผู้เดียว และได้ส่งหนังสือสลักหลังกรรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาด้วย  อ่านดูจึงพอจับความได้ว่า  เราทำประกันอัคคีภัยไว้ 27 ปี   เบี้ยประกันเป็นเงินจำนวน 9,xxx บาท  ซึ่งตอนซื้อบ้าน ก็จำไม่ได้ว่าเขาให้ทำประกันอัคคีภัยไว้กี่ปี  แต่จำได้ว่า ตอนรีไฟแนนซ์กับธนาคารออมสิน ธนาคารให้ทำประกันอัคคีภัยอย่างน้อย 3 ปี เบี้ยประกันอยู่ที่ 2,xxx บาท   จึงเป็นอันว่า ประกันอัคคีภัยที่บ้านหลังนี้มี 2 กรรมธรรม์ซ้อนกันอยู่
          จึงคิดจะเวนคืนกรรมธรรม์ฉบับเก่า   หาเบอร์ได้ ก็โทรหา บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บอกเลขที่กรมธรรม์  แจ้งความประสงค์ว่าจะเวนคืน พร้อมด้วยเหตุผล  พนักงานก็แนะนำดีมาก  ว่าให้ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  แล้วเขียนข้อความลงไปว่า เป็นเป็นเจ้าของกรรมธรรม์เลขที่อะไร  ต้องการยกเลิกกรรมธรรม์  พร้อมแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารที่เป็นชื่อของเรา (เพื่อให้เขาโอนเงินคืน)  แล้วแฟกซ์ไปให้เจ้าหน้าที่   เมื่อแฟกช์แล้ว  ให้โทรไปเช็คด้วยว่าได้รับแฟกซ์หรือยัง  หลังจากได้รับเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่เขาก็จะดำเนินการให้
               ผู้เขียนได้แฟกซ์เอกสารไปให้เจ้าหน้าที่ ในวันที่ 14/07/2559 แล้วรอให้เขาดำเนินการให้  หลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับเงินจากการเวนคืนกรรมธรรม์ประกันอัคคีภัยจำนวน 3,xxx บาท ในวันที่ 22/07/2559 ซึ่งในความคิดของผู้เขียนถือว่าได้รับคืนเร็วมากเลยทีเดียว  ต่อมาไม่นานก็ได้รับจดหมายชี้แจงรายละเอียดว่า เราจ่ายเงินเขาไปเท่าไหร่ คุ้มครองมากี่ปี คิดเป็นเงินเท่าไหร่ แล้วคืนให้จำนวนเท่าไหร่
               แม้ว่าเงินที่ได้คืน จะไม่ใช่จำนวนเงินที่เราทำประกันทั้หมด หารด้วยจำนวนปีที่เอาประกัน เหลือกี่ปีก็เป็นเงินคืน   แต่ก็ถือว่าได้กลับคืนมาพอสมควร ดีกว่าปล่อยทื้งไปเฉย ๆ ใครที่ทำประกันต่าง ๆ ไว้ หากไม่ต้องการทำประกันต่อ ก็สามารถเวนคืน เพื่อขอรับเงินส่วนต่างที่จ่ายไปแล้วคืนมาได้
จดหมายจากกรุงเทพประกันภัย
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
หนังสือสลักหลัง
ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน เขียนวัตถุประสงค์ แฟกซ์ให้เจ้าหน้าที่
เอกสารแจ้งกลับ หลังจากได้เงินคืนแล้ว
เอกสารแจ้งกลับ หลังจากได้เงินคืนแล้ว