แชร์ USB Flash Drive ผ่าน USB Port ของ Router

          ผู้อ่านหลายท่านคงเคยเห็น USB Port ของ Router แต่จะมีสักกี่คนที่เคยใช้งาน USB Port ของ Router เพราะส่วนมากรู้ว่ามี รู้ว่าใช้งานอะไรได้ แต่ก็ไม่เคยได้ตั้งค่าเพื่อใช้งานสักที  บทความนี้เลยถือโอกาสทดลองตั้งค่าใช้ประโยชน์จาก USB Port ของ Router ยี่ห้อ TP-Link รุ่น AC1200 V3 

USB Port ของ Router ส่วนมากแล้วสามารถทำหน้าที่ได้ 2 ประการคือ
1. ทำหน้าทีเป็น Print Server รองรับการเชื่อมต่อพริ้นเตอร์ผ่าน USB Port แล้วแชร์ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่
2. ทำหน้าที่เป็น Storage Server รองรับการเชื่อมต่อ USB Flash Drive / USB External Hard disk แล้วแชร์ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่

แต่อาจจะมี USB Port ของ Router บางรุ่น ไม่ได้มีไว้เพื่อรองรับการทำงานสองหน้าที่ข้างต้น แต่มีไว้เพื่อรองรับการเชื่อมต่อ USB AirCard เพื่อเชื่อต่อระบบอินเตอร์เน็ต

ข้อมูล TP-Link AC1200 V3

  • IP Address 192.168.0.1
  • DHCP 192.168.0.100-199
  • SSID / Network Key (ติดไว้ใต้เครื่อง)
  • Password ในการเข้าไปตั้งค่า ไม่มี  แต่ระบบจะให้ตั้งพาสเวิร์ดเองในการล็อคอินครั้งแรก
  • ทำหน้าที่เป็น Router รับอินเตอร์เน็ตเข้าพอร์ต WAN แล้วกระจายต่อผ่านพอร์ต LAN และ WiFi

วิธีเซ็ต USB Port ของ Router เพื่อแชร์ไฟล์จาก USB Flash Drive / USB External Harddisk

  1. ไฟสถานะของ Router (ที่ตัวอุปกรณ์ตรงรูปสัญลักษณ์ USB)
  • ไฟดับ  : ไม่ได้ใช้งาน ไม่ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์
  • ไฟกระพริบ : กำลังเชื่อมต่อกับ USB Storage หรือ USB Printer
  • ไฟติด : เชื่อมต่อกับ USB Storage หรือ USB Printer อยู่

2. เปิดเว็บบราวเซอร์  พิมพ์ IP 192.168.0.1 แล้ว 

  • ตั้งพาสเวิร์ดสำหรับ login เข้า Router แล้วคลิ๊ก Let’s Get Start
  • ตั้งค่าเบื้องต้นให้กับ Router  TimeZone ⇾ เลือกรูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ⇾  ตั้ง SSID | Password

3. คลิ๊กที่เมนู Advanced 

  • USB Settings 
  • Device Settings
  • Scan 

ปรากฏว่ายังไม่เจออุปกรณ์ใด ๆ

4. เสียบ USB Flash Drive

  • คลิ๊ก Scan อีกครั้ง
  • Router แจ้งว่า Found 1 Disks
  • ตามตัวอย่างได้แก่ Flash Drive ยี่ห้อ Kingston รุ่น Data Traveler 3.0 ขนาด 16GB

5. คลิ๊กที่เมนู Sharing Access

  • เลือก Account ที่จะใช้ในการเข้าถึงข้อมูลใน USB Flash Drive ที่แชร์ผ่าน USB Port ของ Router

          – Use Default Account คือเลือก admin | password ในการเข้าถึงข้อมูล

          – Use New Account คือสร้าง Account | password ขึ้นมาใหม่

  • ผมสร้างขึ้นมาใหม่ คือ user1 | password
  • คลิ๊ก Save

6. หัวข้อ Sharing Settings เลือกรูปแบบการเข้าาถึงข้อมูล  ให้ติ๊ก ✅ หน้ารูปแบบการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ 

TP-Share คือชื่อของอุปกรณ์ที่แชร์ หรือชื่อของคอมพิวเตอร์ที่แชร์ สามารถใช้ IP Address แทนชื่อก็ได้ เช่น ใช้ \\192.168.0.1  แทน \\TP-Share

✅ Network Neighborhood เป็นการเข้าถึงข้อมูลเหมือนที่เราแชร์ไฟล์ผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ในวงแลนตามปกติ

รูปแแบคือ    \\TP-Share 

✅ FTP เป็นการเข้าถึงข้อมูลด้วยรูปแบบของ FTP (File Transfer Ptotocol)  คลิ๊กอ่านเกี่ยวกับ FTP  รูปแบบคือ

ftp://192.168.0.1:21

          – ftp:// คือรูปแบบการเข้าถึงไฟล์ผ่าน fpt

          – 192.168.0.1 คือ IP Address ของ Router ที่แชร์ข้อมูลใน Flash Drive

          – :21 คือพอร์ตในการเข้าถึง 

✅ FTP (Via Internet) เป็นการเข้าถึงข้อมูลด้วยโปรโตคอล FTP (File Transfer Ptotocol) ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (จะกล่าวถึงภายหลัง)

7. Folder Sharing (เปิด:สัญลักษณ์เป็นสีฟ้า | ปิด : สัญลักษณ์เป็นสีเทา)

  • Share All เลือกเปิดใช้งาน เพื่อแชร์ข้อมูลทั้งหมดใน USB Flash Drive
  • Enable Authentication เลือกเปิดใช้งาน ถ้าต้องการให้การเข้าถึงโฟลเดอร์ที่แชร์ต้องใส่ user | password

8. วิธีแชร์เฉพาะบางโฟลเดอร์ใน USB Flash Drive

  • เลือกปิดฟังก์ชั่น Share All
  • กด + Add
  • Volume Name เลือกชื่ออุปกรณ์ USB 
  • Folder Path บราวซ์เพื่อเลือกโฟลเดอร์ที่จะแชร์ | เลือกด้วยการติ๊ก ✅ แล้วกด OK
  • Folder Name ตั้งชื่อ Shared_Name โดยจะตั้งชื่อให้เหมือนหรือต่างจากตัวโฟลเดอร์ก็ได้
  • ถ้าต้องการแชร์โฟลเดอร์อื่น ๆ อีก ก็สามารถทำได้โดยวิธีเกียวกัน

9. ทดลองใช้รูปแบบ \\TP-Share เพื่อเข้าถึงข้อมูลใน USB Flash Drive ที่แชร์ผ่าน USB Port ของ Router

  • กดสัญลักษณ์ Win+ R (ที่คีย์บอร์ด) หรือเปิด file exploer
  • พิมพ์ \\TP-Share แล้ว ↲ 
  • คลิ๊กที่ sda1 (ซึ่งเป็นโฟลเดอร์แชร์)
  • ใส่ user | password แล้วคลิ๊ก OK
  • เห็นไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ใน USB Flash Drive ที่เชื่อมต่ออยู่กับ USB Port ของ Router 

🔼  ถ้าปิดการใช้งานในหัวข้อ Share All  เมื่อเชื่อมต่อไปที่ Router  จะไม่พบข้อมูลใด ๆ
🔼 ถ้าปิดใช้งานในหัวข้อ Enable Authentication เมื่อเชื่อมต่อไปที่ Router ไม่ต้องใส่ user | password (ที่ตั้งไว้ในข้อ 10) 

10. ทดลองเปลี่ยนชื่อ TP-Share เป็น TP-Test แล้วลองเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์

  • คลิ๊กเปลี่ยนชื่อที่หัวข้อ Network/Media Server Name : เป็น TP-Test  แล้ว Save
  • เชื่อมต่อโดยใช้ชื่อใหม่ \\TP-Test แล้ว 
  • ใส่ user | password แล้วเข้าถึงข้อมูลได้ตามปกติ

11. ทดลองเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ด้วย IP Address ของเราเตอร์ ในรูปแบบ \\192.168.0.1

  • เชื่อมต่อด้วยรูปแบบ \\192.168.0.1 แล้ว 
  • ใส่ user | password แล้วเข้าถึงข้อมูลได้ตามปกติ

12. เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้อมูลด้วยรูปแบบ ftp://192.168.0.1:21

  • เปิดเว็บบราวเซอร์ พิมพ์ ftp://192.168.0.1:21 แล้ว 
  • ใส่ user | password แล้วคลิ๊ก OK
  • จะเห็นข้อมูลต่าง ๆ ที่ USB Flash Drive 

13. ทดลองเชื่อต่อเพื่อใช้ข้อมูลด้วยรูปแบบ ftp://tp-share:21

  • เปิดเว็บบราวเซอร์ พิมพ์ ftp://tp-share:21 แล้ว 
  • ใส่ user | password แล้วคลิ๊ก OK
  • จะเห็นข้อมูลต่าง ๆ ที่ USB Flash Drive 

🔼 การเชื่อมต่อเพื่อใช้ข้อมูลที่แชร์สามารถทำได้ด้วย Router_Name หรือ Router_IP Address ก็ได้

          \\TP-Share หรือ \\192.168.0.1 

🔼 การเชื่อต่อโดยใช้ ftp จะใช้รูปแบบ ftp://192.168.0.1:21  หรือ ftp://tp-share:21 ก็ได้

🔼 ถ้าคอมพิวเตอร์ที่จะเชื่อมต่อเป็น Windows 10 v1803 ขึ้นไป ต้องเปิดการใช้งาน SMB 1.0 ก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้ข้อมูลที่แชร์ผ่าน USB Flash Drive ใน TP-Link AC1200

🔼  เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ ควรกด Safety Remove ทุกครั้งก่อนถอด USB Flash Drive ออก โดยคลิ๊กที่หัวข้อ Device Settings แล้วเลือก Safety Remove เมื่อชื่ออุปกรณ์หายไป จึงถอดอุปกรรณ์ออก

🔼 รองรับ USB External Harddisk (แต่ไม่แน่ใจว่าสูงสุดเท่าไหร่ ทดสอบ USB External HDD 1TB เชื่อมต่อได้ปกติ)

🔼 การนำเอา USB Flash Drive หรือ USB External Harddisk มาเสียบที่ USB Port ของ Router เพื่อแชร์  ข้อมูลยังคงอยู่ปกติ  Router จะไม่ฟอร์แมทเพื่อเปลี่ยน File System ใหม่

🔼 สามารถเชื่อมต่อ USB FlashDrive ได้มากกว่าหนึ่งอัน ผ่าน USB HUB  แต่ควรเป็น USB HUฺ ที่มีอแดปเตอร์ไฟด้วย

วิธีเปิด SMB 1.0 บน Windows 10

  • เข้าไปที่ Control Panel
  • คลิ๊ก Programs and Features
  • คลิ๊ก Turn Windows features on or off
  • ติ๊กถูกตรง SMB 1.0/CIFS file Sharing Support
  • คลิ๊ก OK  ⇾  Restart now

ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเปลี่ยน TP-Link AC1200 ให้ทำหน้าที่เป็น Access Point อย่างเดียวได้โดย

  • คลิ๊กที่เมนู Advanced
  • เลือก Operation Mode
  • เลือก Access Point
  • คลิ๊ก Save
  • การเปลี่ยนเป็น Access Point  มีผลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับ TP-Link AC1200 เครื่องนี้ เป็นวงแลนเดียวกันกับ Router หลัก
  • การเปลี่ยนเป็น Access Point ต้องล็อกอินหน้าจอของ TP-Link ด้วย URL  tplinkwifi.net ทั้งนี้เพราะ IP Address (192.168.0.1) ได้เปลี่ยนไป  ไอพีที่ใช้เป็นไอพีที่รับอัตโนมัติจากเราเตอร์หลักและฟังก์ชั่น DHCP ของตัวเองก็ถูกปิดไปด้วย
  • เมื่อล็อกอินหน้าจอ TP-Link AC1200 แล้ว สามารถเปลี่ยน IP Address เป็นแบบ Fix IP ได้ตามต้องการ เพื่อให้สะดวกในการล็อกอินครั้งต่อ ๆ ไป
  • ฟังก์ชั่น DHCP  ไม่สามาระเปิดหรือปิดได้ ใน Access Point Mode
  • ใน Access Point Mode สายแลนที่เชื่อมต่อจากเราเตอร์หลัก จะเสียบเข้ากับพอร์ต WAN หรือ LAN ก็ได้