ฮาร์ดดิสก์แบบ MBR กับ GPT ต่างกันอย่างไร

ผมคิดว่าหลายคนคงสงสัย ฮาร์ดดิสก์ที่มีโครงสร้างพาร์ทิชั่นแบบ MBR กับ GPT ต่างกันอย่างไร และเลือกแบบไหนดีกว่า  บทความต่อไปนี้จะช่วยให้ความสงสัยดังกล่าวกระจ่างขึ้น และจะแนะนำวิธีเปลี่ยนโครงสร้างพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ จาก MBR ไปเป็น GPT โดยที่ข้อมูลไม่หาย

หลายคนคงเคยเห็นรูปแบบนี้ (ข้างล่าง) เมื่อเชื่อมต่อ Hard Disk หรือ SSD เข้ากับคอมพิวเตอร์ในครั้งแรก 

คอมพิวเตอร์แจ้งให้เราเลือกโครงสร้างพาร์ทิชั่น

  • MBR : Master Boot Record
  • GPT : GUID Patition Table

โดยปกติถ้าคอมพิวเตอร์เลือกอะไรมาให้ ก็เลือกตามนั้น (เลือกตามรูปแบบโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ที่วินโดวส์ติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นๆ) แต่เราควรศึกษาความแตกต่างโครงสร้างการแบ่งพาร์ทิชั่นทั้งสองนี้ด้วย

ความแตกต่างระหว่าง MBR และ GPT

1. จุดกำเนิดของโครงสร้างพาร์ทิชั่นแบบ MBR และ GPT
  • MBR : ถือกำเนิดพร้อมกับ IBM PC DOS 2.0 เมื่อปี ค.ส. 1983 ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ทั้งในระบบ Windows, Mac และ Linux
  • GPT : ได้รับการพัฒนาโดย Intel ในปี ค.ศ. 1990 พร้อมกับ Boot Mode แบบ UEFI ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
2. ขนาดพาร์ทิชั่นสำหรับโครงสร้างพาร์ทิชั่นแบบ MBR และ GPT
  • MBR : รองรับขนาดของพาร์ทิชั่นไม่เกิน 2TB
  • GPT : รองรับขนาดพาร์ทิชั่นไม่จำกัด
3. จำนวน Primary Partition สุงสุดสำหรับโครงสร้างพาร์ทิชั่นแบบ MBR และ GPT
  • MBR : รองรับการสร้าง Primary Partition ได้สูงสุด 4 Partition ถ้าต้องการพาร์ทิชั่นมากว่านี้ ต้องสร้าง Extended Partition ขึ้นมาก่อนแล้วค่อยสร้าง Logical Drive (บน Extended Partion) ได้แบบไม่จำกัดจำนวน  แต่ไม่สามารถ Set Active ให้ Logical Drive ได้
  • GPT : รองรับการสร้าง Primary Partition ได้สูงสุด 128 Partition
4. Windows ที่รองรับโครงสร้างพาร์ทิชั่นแบบ MBR และ GPT
  • MBR : รองรับการติดตั้งวินโดวส์ทุกเวอร์ชั่น ที่เซ็ต Boot Mode เป็นแบบ Lagacy
  • GPT : รองรับการติดตั้งวินโดวส์ 7, 8, 8.1, 10, Server 2008, 2012, 2016, 2019 64bit ที่เซ็ต Boot Mode เป็นแบบ UEFI
  • Windows XP 32bit ไม่รองรับการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์แบบ GPT และไม่รองรับฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลลูกอื่นที่เป็น GPT
  • Windows XP 64bit ไม่รองรับการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์แบบ GPT แต่รองรับฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลลูกอื่นที่เป็น GPT
  • Windows Vista, 7, 8, 8.1, 10 32bit ไม่รองรับการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์แบบ GPT แต่รองรับฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลลูกอื่นที่เป็น GPT
  • Windows Vista, 7, 8, 8.1, 10 64bit รองรับการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์แบบ GPT และรองรับฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลลูกอื่นที่เป็น GPT (ต้องตั้งค่า Boot Mode เป็น UEFI)
5. การตั้งค่า Boot Mode สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีโครงสร้างพาร์ทิชั่นแบบ MBR และ GPT
  • MBR : รองรับการตั้งค่า Boot Mode แบบ Lagacy  ( Lagacy จับคู่กับ MBR)
  • GPT : รองรับการตั้งค่า Boot Mode แบบ UEFI ( UEFI จับคู่กับ GPT)
6. เลือกใช้งานแบบไหนไดี MBR หรือ GPT
  • อยากใช้ Windows 32bit เลือก MBR
  • อยากใช้ฮาร์ดิสก์ขนาดใหญ่กว่า 2TB เลือก GPT
  • อยากได้ Primary Partition มากกว่า 4 เลือก GPT
  • อยากได้ความปลอดภัยสูงกว่า เลือก GPT
  • ถ้าในไบออสสามารถเซ็ต Boot Mode ได้ทั้งสองแบบ ให้เลือก GPT

วิธีเปลี่ยน MBR เป็น GPT หรือ GPT เป็น MBR

1. วิธีเช็คว่าฮาร์ดิสก์เป็นแบบ MBR หรือ GPT
  • ใช้ยูทิลิตี้ Disk Management ของวินโดวส์
    1. คลิ๊กขวาที่ This PC → Manage → Disk Management
    2. คลิ๊กขวาที่ฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการเช็ค (ตรง Disk0, Disk1 เป็นต้น ไม่ใช่ที่พาร์ทิชั่น) แล้วเลือก Properties
    3. เลือกแท็ป Volumes แล้วดูที่บรรทัด Partition style
  • ใช้โปรแกรมอื่น ๆ ผมแนะนำโปรแกรม minitool partition wizard 
    1. ดาวน์โหลดโปรแกรมจาก www.minitool.com แล้วติดตั้งตามปกติ
    2. เปิดโปรแกรม minitool partition wizard 
    3. ที่ Disk0, Disk1 เป็นต้น จะแสดงข้อมูลว่า Disk ดังกล่าวเป็น MBR หรือ GPT 
2. เปลี่ยนด้วยคำสั่งโปรแกรม minitool partition wizard ทำได้เฉพาะฮาร์ดิสก์ที่เป็น DATA

เราสามารถเปลี่ยนโครงสร้างพาร์ทิชั่นของฮาร์ดดิสก์ที่แบ่งพาร์ทิชั่นแล้ว จาก MBR เป็น GPT หรือ จาก GPT เป็น MBR โดยที่ข้อมูลยังคงอยู่เหมือนเดิม (ข้อมูลไม่หาย) ด้วยโปรแกรม Minitool Partition Wizard

1.ดาวน์โหลดโปรแกรมจาก www.minitool.com แล้วติดตั้งตามปกติ
2. เปิดโปรแกรม minitool partition wizard
3. คลิ๊กขวาที่ Disk0, Disk1 เป็นต้น (ที่ต้องการ) แล้วเลือก Convert MBR Disk to GPT Disk (หรือ Convert GPT Disk to MBR Disk)
3. คลิ๊ก Apply 
4. โปรแกรมแจ้งเตือนให้ปิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดใช้งานอยู่ แล้วคลิ๊ก OK
5. Disk ที่เราเลือกก็จะเปลี่ยนเป็น GPT หรือ MBR ตามที่เราต้องการ และข้อมูลยังอยู่เหมือนเดิม

  • ใช้คำสั่งใน Disk Management เพื่อเปลี่ยน (Convert) จาก MBR เป็น GPT หรือจาก GPT เป็น MBR ได้  แต่ต้องเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ยังไม่ได้แบ่งพาร์ทิชั่น  ถ้าฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวถูกแบ่งพาร์ทิชั่นแล้ว คำสั่ง Convert to GPT Disk จะเป็นจาง ๆ ไม่สามารถเรียกใช้งานได้
  • สามารถใช้คำสั่งใน Diskpart เปลี่ยนได้ แต่ข้อมูลหาย ต้องสำรองข้อมูลไว้ก่อน
  • แม้โปรแกรม Minitool partition wizard จะสามารถเปลียนจาก MBR เป็น GPT หรือ จาก GPT เป็น MBR ได้โดยที่ข้อมูลไม่หาย แต่ห้ามทำกับ Disk ที่เป็นที่ติดตั้งวินโดวส์เด็ดขาด  เพราะจะทำให้วินโดวส์ไม่สามารถบูทได้