ลงมือติดตั้งวินโดวส์ 10

               หลังจากที่ได้ไฟล์สำหรับติดตั้งวินโดวส์ 10 (ตามบทความนี้) ต่อมาก็จะเป็นขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์ 10 ตามตัวอย่างจะติดตั้งกับพีซี และแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์เป็น 2 พาร์ทิชั่นตามความนิยมของคนใช้งานทั่วไป

1. นำ USB flash drive ที่เป็นไฟล์ติดตั้งวินโดวส์ 10 เสียบกับคอมพิวเตอร์

2. เปิดคอมพิวเตอร์แล้วกดปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ เพื่อให้โชว์เมนูสำหรับเลือกอุปกรณ์ที่จะบูท ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะให้กดปุ่มแตกต่างกันไป เช่น Asus กด F8, Acer Lenovo Dell กด F12, HP กด F9 เป็นต้น ทั้งนี้ต้องศึกษาจากคู่มือของแต่ละยี่ห้อ  ตามตัวอย่างผมใช้เมนบอร์ดยี่ห้อ Asus จึงกด F8 แล้วจะโชว์เมนูดังรูป

3. เลือกเวอร์ชั่นที่ต้องการติดตั้ง ถ้าตอนสร้างไฟล์ติดตั้งไม่ได้เลือกแบบสองเวอร์ชั่น (32bit+64bit) ก็จะไม่ต้องเลือก

ข้อ 2
ข้อ 3

4. เลือกภาษา และรูปแบบอื่น ๆ พร้อมทั้งคีย์บอร์ดแล้วคลิ๊ก Next (แนะนำให้คลิ๊ก Next ไปก่อน ไว้ติดตั้งเสร็จค่อยตั้งค่าเพิ่มเติมภายหลัง)

5. คลิ๊ก Install Now

ข้อ 4
ข้อ 5

6. คลิ๊กที่คำว่า I don’t have a product key เนื่องจากเรายังไม่ได้ซื้อ product key จากไมโครซอฟท์ หรือแม้จะมีอยู่แล้ว แนะนำให้กดผ่านไปก่อน เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วเวลาจะ activate windows ค่อยใส่ product key

7. เลือกเวอร์ชั่นที่ต้องการติดตั้ง แล้วคลิ๊ก Next ถ้าเรามี product key อยู่แล้ว ต้องเลือกให้ตรงกับที่มี product key อยู่  แต่ถ้ายังไม่ได้ซื้อ ให้เลือกตามที่วางแผนว่าจะซื้อ

ข้อสังเกตุ : ถ้าติดตั้งวินโดวส์ให้กับคอมพิวเตอร์ที่เคยมีวินโดวส์แท้มาจากโรงงาน จะไม่ขึ้นหน้าต่างที่ให้ใส่ product key และการเลือกเวอร์ชั่น เพราะโปรแกรมจะเลือกให้อัตโนมัติตามที่เคยมีมาแล้วในเครื่องนั้น ๆ และไม่จำเป็นต้องใส่ product key เพื่อ activate

ข้อ 6
ข้อ 7

8. ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ I accept the license terms แล้วคลิ๊ก Next

9. คลิ๊กที่ Custom: Install Windows only (advanced)

ข้อ 8
ข้อ 8

10. แบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ตามที่ต้องการ เลือกพาร์ทิชั่นที่จะติดตั้งวินโดวส์แล้วคลิ๊ก Next

  • ฮาร์ดดิสก์ที่ขึ้นเป็น Unallocated Space แสดงว่าฮาร์ดดิสก์ยังไม่ได้ถูกแบ่งพาร์ทิชั่น
  • ถ้าต้องการแบ่งเพียงพาร์ทิชั่นเดียว ให้คลิ๊ก New → แล้ว Apply →  OK โปรแกรมจะแบ่งบางส่วนเป็นไดรฟ์ Recovery, System, Reserved (ขนาดเป็นหลัก MB)  เวลาเลือกพาร์ทิชั่นที่จะติดตั้ง  ให้เลือกพาร์ทิชั่นใหญ่สุดที่อยู่ด้านล่าง แล้วคลิ๊ก Next เพื่อเริ่มติดตั้งวินโดวส์
  • ถ้าต้องการแบ่งฮาร์ดดิสก์มากกว่าหนึ่งพาร์ทิชั่น ให้เลือกวิธีเดียวกันกับการแบ่งเป็นหนึ่งพาร์ทิชั่นก่อน แล้วค่อยลบพาร์ทิชั่นล่างสุดออก โดยการเลือกพาร์ทิชั่นล่างสุด แล้วคลิ๊ก Delete → OK หลังจากนั้นคลิ๊กพื้นที่ Unallocated Space ระบุขนาดของพาร์ทิชั่นที่ต้องการ (ตามตัวอย่างต้องการพาร์ทิชั่นขนาด 200GB แต่หน่วยที่แสดงเป็น MB ) ให้เอา 1024 คูณด้วยจำนวน GB ที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการพาร์ทิชั่นขนาด 200GB ให้เอา 1024 x 200 ก็จะเท่ากับ 204800(MB)  
  • สร้างอีกหนึ่งพาร์ทิชั่นด้วยพื้นที่ที่เหลือ แล้วฟอร์แมทพาร์ทิชั่นล่างสุดก่อน 
  • เลือกพาร์ทิชั่นที่ต้องการจะติดตั้งวินโดวส์แล้วคลิ๊ก Next (ตามตัวอย่างคือพาร์ทิชั่นขนาด 200GB)

ข้อควรคำนึง: การสร้าง-ลบพาร์ทิชั่นตามตัวอย่างนี้ เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ใหม่ หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องการเก็บข้อมูล  แต่ถ้าเป็นการติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลอยู่แล้ว และต้องการเก็บข้อมูลไว้ในไดรฟ์ DATA ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ห้ามลบผิดไดรฟ์เป็นอันขาด

11. เมื่อโปรแกรมก้อปปี้ไฟล์ลงในฮาร์ดดิสก์เสร็จ เริ่มติดตั้งโปรแกรมและรีสตาร์ทครั้งแรก แนะนำให้ถอด USB flash drive ออกจากคอมพิวเตอร์ เพราะอาจจะทำให้คอมพิวเตอร์บูทจาก USB flash drive อีกครั้ง ทำให้บูทวนไปมา
12. Is this the right keyboard layout? ให้เลือก US แล้วคลิ๊ก Yes
13. Want to add a second keyboard layout? คลิ๊ก Skip
 
ข้อ 12
ข้อ 13
14. How would you like to set up?
     : เลือก Set up for personal use (เหมาะสำหรับใช้งานส่วนตัว)
     : เลือก Set up for an organization (เหมาะสำหรับใช้งานในองค์กร) ตามตัวอย่างเลือก Setup for personal use
15. ถ้าในขณะที่ติดตั้ง มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านสายแลน หรือผ่านไวเลส วินโดวส์จะแนะนำให้เราล็อกอินด้วย Online account เช่น อีเมล์ สไกป์ หรือแอคเคาท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับไมโครซอฟท์  แนะนำให้สร้าง Offline account ก่อน ถ้าต้องการใช้ Online account ค่อยล็อกอินภายหลัง ตามตัวอย่างจะคลิ๊กที่
     : Offline account →  No สร้าง Account แล้วคลิ๊ก Next
     : ตั้งพาสเวิร์ด หรือไม่ตั้งก็ได้ แล้วคลิ๊ก Next
ข้อ 14
ข้อ 15
16. วินโดวส์จะแนะนำให้เลือก Cortana เป็นผู้ช่วยส่วนตัว แต่เราจะยอมรับ หรือปฏิเสธก็ได้ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ Cortana คลิ๊กที่นี่
17. การบันทึกประวัติกิจกรรมต่าง ๆ บนอุปกรณ์ที่เราใช้งาน จะตกลง หรือปฏิเสธก็ได้ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ activity histroy คลิ๊กที่นี่
ข้อ 16
ข้อ 17
18. เลือกยอมรับการตั้งค่าส่วนตัวในการใช้อุปกรณ์ โดยจะเลือกการตั้งค่าตามที่ไมโครซอฟท์แนะนำ หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้ แล้วคลิ๊ก Accept
19. หน้าจอหลังจากที่ติดตั้ง Windows 10 เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 18
ข้อ 19

สิ่งที่ควรทำหลังจากติดตั้ง Windows 10
1. ดึง Desktop Icon มาไว้ที่หน้าจอ เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน

  • คลิ๊กขวาที่ว่าง ๆ บนหน้าจอ แล้วเลือก personalize
  • คลิ๊กที่เมนู themes ด้านซ้าย
  • คลิ๊กที่ Desktop icon settings ด้านขวาของหน้าจอ (ถ้าคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์การ์ดจอ และยังไม่ได้เซ็ตความละเอียดหน้าจอ คำว่า “Desktop icon settings” อาจอยู่ด้านล่างของรูปภาพ)
  • ติ๊ก   หน้า Desktop icons ทั้งหมด แล้วคลิ๊ก OK
  • ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ จะโชว์ Desktop icon ต่าง ๆ ขึ้นมา ทำให้เราสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าใครไม่ต้องการให้โชว์ ก็สามารถทำด้วยวิธีเดียวกันแล้วเอาเครื่องหมาย √  ออก  

2. เซ็ต วัน เดือน ปี และเวลาให้ถูกต้องกับประเทศของเรา

  • คลิ๊กขวาที่นาฬิกา ตรงมุมล่างด้านขวาของหน้าจอ แล้วเลือก Adjet date/time
  • Time Zone ต้องตั้งเป็น (UTC+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakata
  • โดยปกติ ถ้าตั้ง Time Zone ถูกต้อง และหัวข้อ Set time automatically เป็น On เมื่อมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต วินโดวส์จะเช็ควันเวลาให้ถูกต้องเองอัตโนมัติ
  • แต่ถ้าเวลาไม่อัปเดดเอง ให้คลิ๊กหัวข้อ Set time automatically เป็น Off 
  • คลิ๊กที่ Change
  • ตั้งค่าวัน เวลา ให้ถูกต้อง แล้วคลิ๊ก Change อีกครั้ง

3. เซ็ต system location, date/time format เป็นประเทศไทย และเซ็ตปุ่มเปลี่ยนภาษา

  • คลิ๊กที่ Control Panel เลือก Clock and Region
  • คลิ๊ก Change date, time, or number formats
  • ที่แท็ป Formats คลิ๊กลูกศรชี้ลง  ตรงหัวข้อ Formats : English (United States) แล้วเลือกเป็น Thai(Thailand)
  • คลิ๊กที่แท็ป Administrative
  • คลิ๊กที่ Change system locale  Apply
  • คลิ๊กลูกศรชี้ลง ตรงหัวข้อ Current system locale แล้วเลือกเป็น Thai(Thailand)
  • คลิ๊ก OK
  • คอมพิวเตอร์จะให้รีสตาร์ท แนะนำให้คลิ๊ก Cancel ไปก่อน ตั้งค่าต่าง ๆ เสร็จ ค่อยรีสตาร์ททีเดียว
  • กลับมาที่แท็บ Format อีกครั้ง แล้วคลิ๊กที่คำว่า Language preferences
  • คลิ๊กที่คำว่า Spelling, typing, & keyboard settings
  • เลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่างเล็กน้อย คลิ๊กที่คำว่า Advanced keyboard settings
  • คลิ๊กที่ Language bar options
  • คลิ๊กที่แท็บ Advanced key settings
  • คลิ๊กที่ Change Key Sequence
  • ด้าน Switch Input Language เลือก Grave Accent ( ‘ ) เพื่อใช้เป็นปุ่มในการเปลี่ยนสลับไปมาระหว่างการพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ด้าน Switch Keyboard Layout เลือก Not Assigned หรืออย่างอื่นก็ได้ แล้วคลิ๊ก OK
  • เมื่อคลิ๊ก Close โปรแกรมจะแนะนำให้รีสตาร์ท แต่ผมแนะนำให้ Cancel ไปก่อน 
  • เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ คอมพิวเตอร์ของเราก็จะสามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4. เปลี่ยน Computer Name 

  • คลิ๊กขวาที่ This PC เลือก Properties
  • คลิ๊กที่ Change Settings
  • คลิ๊กที่ Change
  • เปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์ ตรง Computer name ตามต้องการ 
  • คลิ๊ก OK → OK  → Close
  • คอมพิวเตอร์จะให้รีสตาร์ท เพื่อให้การเปลี่ยนชื่อ และการตั้งค่าอื่น ๆ ก่อนหน้านี้มีผล แนะนำให้คลิ๊ก Restart Now
  • เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์มาอีกครั้ง ชื่อคอมพิวเตอร์ก็จะเปลี่ยนไปตามที่เราต้องการ

ข้อสังเกตุ : ถ้าเราเปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์ ต้องใช้วิธีรีสตาร์ทเท่านั้น การเปลี่ยนชื่อจึงจะเป็นไปตามที่เปลี่ยน  ถ้าใช้วิธีปิดคอมพิวเตอร์แล้วเปิดใหม่ ชื่อคอมพิวเตอร์จะยังเป็นชื่อเก่าอยู่… ทดลองดูได้

5. ต้องติดตั้งไดรเวอร์ให้สมบูรณ์ทุกอุปกรณ์  แม้ว่าโดยส่วนมากแล้ววินโดวส์ 10 มักจะรู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์  แต่ก็ต้องเข้าไปเช็คดูให้แน่ใจ ว่าที่ Device Manager มีเครื่องหมายตกใจอยู่หน้าอุปกรณ์ใดบ้างหรือไม่

  • คลิ๊กขวาที่ This PC แล้วเลือก Properties
  • คลิ๊กที่ Device Manager
  •  เช็คว่ามีอุปกรณ์ใด มีเครื่องหมายตกใจอยู่ด้านหน้า ให้คลิ๊กขวาที่อุปกรณ์นั้น ๆ แล้วเลือก update driver (ต้องต่ออินเตอร์เน็ตด้วย) วินโดวส์ 10 ก็จะค้นหาไดรเวอร์แล้วติดตั้งเองอัตโนมัติ
  • หากมีอุปกรณ์ใดไม่สามารถติดตั้งไดรเวอร์ผ่านการ update driver เราต้องหายี่ห้อและรุ่นของอุปกรณ์นั้น ๆ แล้วไปดาวน์โหลดไดรเวอร์มาติดตั้งให้เรียบร้อย

นอกจากนี้ ถ้าเราต้องการใช้โปรแกรมเฉพาะใด ๆ ก็สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ตามต้องการ ขอให้มีความสุขในการเรียนรู้และใช้งานวินโดวส์ 10 นะครับ