วิธีแชร์ข้อมูลบน Windows 10 ให้กับ Windows XP
วิธีแชร์ข้อมูลบน Windows 10 ให้กับ Windows XP
โดย เอกสามวา
ผมเชื่อเหลือเกินว่าหลายคนต้องเคยเจอปัญหาลักษณะนี้ นั่นก็คือ ในสำนักงานมีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องและติดตั้งวินโดวส์ต่างเวอร์ชั่นกัน เวลาเช็ตเพื่อแชร์ข้อมูลหรือแชร์พริ้นเตอร์ระหว่างกันก็มักจะพบปัญหาบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะวินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่รู้จักเวอร์ชั่นเก่า แต่วินโดวส์เวอร์ชั่นเก่า ไม่ค่อยจะรู้จักเวอร์ชั่นใหม่เท่าไหร่ ซึ่งเป็นหน้าที่เราที่ต้องเซ็ตให้
เนื้อหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการแนะนำวิธีเซ็ตเพื่อแชร์ข้อมูลที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ Windows 10 v1903 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวินโดวส์ใหม่ล่าสุดให้กับ Windows XP SP3 ซึ่งเป็นวินโดว์เก่า(ไม่สุด) ที่ยังมีคนนิยมใช้อยู่
คอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการเช็ตคือ
คอมพิวเตอร์เครื่องที่หนึ่ง ติดตั้ง Windows XP Pro SP3 [COM-XP]
คอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ติดตั้ง Windows 10 Pro v1903 [COM-WIN10]
โดยจะเซ็ตแชร์ที่ Windows 10 แล้ว.ให้ใช้ Windows XP ลิงค์เข้าไปใช้ข้อมูลไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่บน Windows 10
การตั้งค่าที่ COM-XP
- ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Name) ตามตัวอย่างคือ COM-XP
- เซ็ต IP Address ให้อยู่ในวงแลนเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows 10 (ในที่นี้คือ 192.168.1.60) หรือจะเซ็ตให้รับ IP Address อัตโนมัติจากเราเตอร์ก็ได้
การตั้งค่าที่ COM-WIN10
- ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Name) ตามตัวอย่างคือ COM-WIN10
- เซ็ต IP Address ให้อยู่ในวงแลนเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows XP (ในที่นี้คือ 192.168.1.61) หรือจะเซ็ตให้รับ IP Address อัตโนมัติจากเราเตอร์ก็ได้
ขั้นตอนการเซ็ตแชร์ ที่ Windows 10 (แบบไม่ต้องมีพาสเวิร์ด)
ขั้นตอนที่ 1 : เซ็ต User ที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อมาที่ Windows 10
ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดให้ User Guest ไม่ต้องมีพาสเวิร์ด (โดยปกติ Guest จะไม่มีพาสเวิร์ดอยู่แล้ว ยกเว้นว่าเราไปตั้งไว้)
- คลิ๊กที่ปุ่ม Search ( ) พิมพ์ Computer Management แล้วเอ็นเตอร์ หรือคลิ๊กที่ Computer Management App
- คลิ๊กที่ ⛛ หน้า Local User and Groups (คอลัมน์ด้านซ้าย)
- คลิ๊กที่ Users (คอลัมน์ด้านซ้าย)
- คลิ๊กขวาที่ Guest แล้วเลือก Set Password (คอลัมน์ด้านขวา)
- คลิ๊กที่ Proceed
- ที่ New password และ Confirm password ปล่อยว่างไว้ (เพราะเราไม่ต้องการเซ็ตพาสเวิร์ด)
- คลิ๊ก OK ➜ OK
ขั้นตอนที่ 2 : เซ็ต Enable Sharing เป็นขั้นตอนการตั้งค่าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ (ในที่นี้คือ COM-XP) สามารถเชื่อมต่อมายังเครื่อง COM-WIN10 ได้
- คลิ๊กที่ StartMenu เลือก Settings (รูปเฟือง)
- คลิ๊กที่ Network & Internet
- คลิ๊กที่ Wi-Fi หรือ Ethernet (คอลัมน์ด้านซ้าย)
- คลิ๊กที่ Change advanced sharing options (ภายใต้หัวข้อ Related settings)
- ที่หัวข้อ Change sharing options for different network profiles ให้คลิ๊ก ⛛ เพื่อดูเมนูย่อยในแต่ละหัวข้อ ในทุกรายการให้เลือกเป็น Turn on ยกเว้นตรง Password ให้เลือกเป็น Turn off
– Turn on network discovery
– Turn on file and printer sharing
– Turn on sharing so anyone….
– Turn off password protected sharing - คลิ๊ก Save Changes
ขั้นตอนที่ 3 : สร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์แล้วเซ็ตแชร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เข้าถึงเฉพาะโฟลเดอร์ที่เราต้องการแชร์ (ตามตัวอย่างเป็นการสร้างโฟลเดอร์ในไดรฟ์ D:)
- เข้าไปที่ D: แล้วคลิ๊กขวาที่ว่าง ๆ เลือก New ➜ Folder
- คลิ๊กขวาที่โฟลเดอร์ที่เพิ่งสร้าง เลือก Rename แล้วตั้งชื่อโฟลเดอร์ตามที่เราต้องการ (ตามตัวอย่างคือ datashare)
- คลิ๊กขวาที่โฟลเดอร์ datashare เลือก Properties
- เลือกแท็ป Sharing
- คลิ๊กที่ Advanced Sharing
- ติ๊ก หน้า Share this folder
- ตรง Share name ให้ตั้งชื่อเหมือนกับโฟลเดอร์ (ไม่แนะนำให้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้จะเปลี่ยนได้ก็ตาม)
- คลิ๊กที่ Permissions
- เลือก Everyone แล้วติ๊ก ตรง Full Control แล้วคลิ๊ก OK ➜ OK
- คลิ๊กที่แท็ป Security ➜ Edit ➜ Add ➜ Advanced ➜ Find Now
- คลิ๊กที่ Everyone แล้วคลิ๊ก OK ➜ OK
- เอาเม้าส์เลือก Everyone แล้วติ๊ก ตรง Full Control ฝั่ง Allow
- คลิ๊ก OK ➜ Close
ขั้นตอนที่ 4 : เปิดฟีเจอร์ SMB 1.0 เพื่อรองรับการแชร์ไฟล์และพริ้นเตอร์ให้ Windows XP
- คลิ๊กที่ปุ่ม Search ( ) พิมพ์ Control Panel แล้วเอ็นเตอร์ หรือคลิ๊กที่ Control Panel App
- คลิ๊กที่ Programs ➜ Turn Windows features on or off
- คลิ๊กเครื่องหมาย + หน้า SMB 1.0/CIFS File Sharing Support แล้วติ๊กเครื่องหมาย ในหัวข้อย่อยทั้งสามบรรทัด
SMB 1.0/CIFS Automatic Removal
SMB 1.0/CIFS Client
SMB 1.0/CIFS Server [ *** ตรงนี้สำคัญ เพื่อให้ WinXP ลิงค์เข้ามาได้ ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ให้วินโดวส์เวอร์ชั่นเก่า ] - คลิ๊ก OK
- คอมพิวเตอร์จะติดตั้งฟีเจอร์ดังกล่าวสักครู่
- คลิ๊ก Restart now
ทดสอบเชื่อมต่อจาก COM-XP ไปที่ COM-WIN10
ทำความเข้าใจตามตัวอย่าง
- COM-WIN10 คือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เซ็ตแชร์ไว้ ถ้าเราตั้งชื่อเครื่องเป็นอย่างอื่น ก็ต้องเปลี่ยนไปตามชื่อเครื่องนั้น ๆ
- 192.168.1.61 คือ IP Address ของคอมพิวเตอร์ที่เซ็ตแชร์ไว้ จะตั้งเป็นอย่างอื่นก็ได้
- datashare คือโฟลเดอร์ที่เซ็ตแชร์ไว้ จะตั้งเป็นอย่างอื่นก็ได้
วิธีที่ 1 : เชื่อมต่อผ่าน Computer Name (ทำจากคอมพิวเตอร์ซึ่งติดตั้ง Windows XP)
- คลิ๊กที่ Start เลือก Run หรือ กดสัญลักษณ์ Windows ที่คียบอร์ด + R
- พิมพ์ \\COM-WIN10 แล้วเอ็นเตอร์
- ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะเห็นโฟลเดอร์ datashare ที่แชร์ไว้
– คลิ๊กขวาแล้วเลือก Map Network Drive ➜ เลือกไดรฟ์ที่ต้องการ ➜ คลิ๊ก Finish ผลที่ได้ก็คือ โฟลเดอร์ที่แชร์ไว้ใน COM-WIN10 จะเป็นปรากฏเป็นไดรฟ์ตามที่เซ็ตไว้ ตามตัวอย่างคือไดรฟ์ Z:
– หรือ คลิ๊กขวาแล้วเลือก Create ShortCut ผลที่ได้คือ ที่หน้าเดสท็อป จะมีช็อตคัทโฟลเดอร์ที่แชร์ สามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
วิธีที่ 2 : เชื่อมต่อผ่าน IP Address (ทำจากคอมพิวเตอร์ซึ่งติดตั้ง Windows XP)
- คลิ๊กที่ Start เลือก Run หรือกดสัญลักษณ์ Windows ที่คียบอร์ด + R
- พิมพ์ \\192.168.1.61 แล้วเอ็นเตอร์
- ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะเห็นโฟลเดอร์ datashare ที่แชร์ไว้
– คลิ๊กขวาแล้วเลือก Map Network Drive ➜ เลือกไดรฟ์ที่ต้องการ ➜ คลิ๊ก Finish ผลที่ได้ก็คือ โฟลเดอร์ที่แชร์ไว้ใน COM-WIN10 จะปรากฎเป็นไดรฟ์ตามที่เซ็ตไว้ ตามตัวอย่างคือไดรฟ์ Z:
– หรือ คลิ๊กขวาแล้วเลือก Create ShortCut ผลที่ได้คือ ที่หน้าเดสท็อป จะมีช็อตคัทโฟลเดอร์ที่แชร์ สามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ Windows XP เชื่อมต่อไปที่ Windows 10
ปัญหาที่ 1 : แจ้งเตือนให้ใส่ user, password
- user name ให้ใส่ guest
- password ปล่อยว่าง ๆ ไว้ (เพราะเราไม่ได้ตั้งพาสเวิร์ด guest ไว้ที่ Windows 10)
ปัญหาที่ 2 : ฟ้องว่าไม่สามารถลิงค์เข้าไปได้ cannot access
- ให้กดสัญลักษณ์ Windows ที่คีย์บอร์ด + R
- ที่ช่อง Run พิมพ์ cmd แล้ว เอ็นเตอร์ เพื่อเข้าหน้าจอ Command Prompt
- พิมพ์คำสั่งเพื่อแมปไดรฟ์ไปยังโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้
– พิมพ์ net use z: \\192.168.1.61\datashare แล้วเอ็นเตอร์ (เลือกแมปโฟลเดอร์ที่แชร์เป็น z:) IP และ ชื่อโฟลเดอร์ที่แชร์ ให้เปลี่ยนตามที่ตั้งไว้
– ถ้าขึ้น The command completed successfully แสดงว่าแมปไดรฟ์เสร็จเรีบร้อยแล้ว
- สามารถใช้คำสั่งเพื่อแมปไดรฟ์ผ่าน Computer Name ได้เช่นกัน
– พิมพ์ net use z: \\com-win10\datashare แล้วเอ็นเตอร์
Computer Name และ ชื่อโฟลเดอร์ที่แชร์ ให้เป็นไปตามที่ตั้งไว้
– ถ้าขึ้น The command completed successfully แสดงว่าแมปไดรฟ์เสร็จเรีบร้อยแล้ว
ถ้าเราเข้าใจและสามารถเซ็ตแชร์ไฟล์หรือพริ้นเตอร์ให้กับคอมพิวเตอร์ต่างเวอร์ชั่นได้ การจัดการให้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นเดียวกัน ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด ระบบเน็ตเวิร์คในบ้านหรือสำนักงานเล็ก ๆ เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยช่าง… ลองทำดูนะครับ