วันอาสาฬบูชา
วันอาสาฬหบูชา : การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘
โดย เอกสามวา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
คำว่า อาสาฬหบูชา มาจากคำว่า อาสาฬหปุรณมีบูชา
✪ อาสาฬห คือ เดือน ๘
✪ ปุรณมี คือ วันเพ็ญ หรือวันพระจันทร์เต็มดวง
✪ บูชา คือ การเคารพบูชา
วันอาสาฬหบูชา จึงหมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งได้แก่ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
สรุปความสำคัญในวันอาสาฬหบูชา
✪ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน) ถือเป็นวันเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ
✪ พระธรรมที่แสดง ชื่อว่า ธรรมจักกัปปวัตนสูตร (พระสูตรที่ว่าด้วยการขับเคลื่อนวงล้อคือพระธรรม)
✪ ผู้ที่ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าในครั้งแรก ได้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ประกอบด้วย พระโกณทัญญะ, พระวัปปะ, พระภัททิยะ, พระมหานามะ, พระอัสสชิ
✪ พระโกณทัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและขอบวช ส่งผลให้เกิดมีพระอริยสงฆ์องค์แรกและมีพระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา
✪ เป็นวันที่พระรัตนตรัย (แก้ว ๓ ประการ : รัตน = แก้ว, ตรัย = สาม) เกิดขึ้นครบถ้วน คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ธรรมจักกัปปวัตนสูตร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ธรรมจักร เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ใจความแห่งพระสูตรดังกล่าวสรูปเป็นหลักใหญ่ ๆ ๒ ประการ คือ
✪ ไม่แขม็งเกลียวจนตัวเองต้องลำบาก โดยปราศจากเหตุผลรองรับ ไม่ทรมานตัวเอง ไม่ขยันแบบเลื่อนลอย ไร้จุดหมาย
การดำเนินชีวิตที่เป็นทางสายกลาง ประกอบด้วยแนวทาง ๘ ประการ ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นที่ดี
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริที่ดี
๓. สัมมาวาจา การพูดจาที่ดี
๔. สัมมากัมมันตะ การทำงานที่ดี
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพที่ดี
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรพยายามที่ดี
๗. สัมมาสติ ความระลึกที่ดี
๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ดี
อริยสัจ ๔
ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ ความทุกข์ของมวลมนุษย์
๒. สมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค หนทางปฎิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
หน้าที่ชาวพุทธในวันอาสาฬหบูชา
✪ เช้าทำบุญตักบาตร
✪ ปฎิบัติธรรม
✪ เวียนเทียนรอบพระอุโบสถหรือสถานที่สำคัญทางศาสนา
ชาวพุทธที่ดี การไม่ทำชั่ว หมั่นทำแต่ความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญ หรือวันอะไร ก็ควรหมั่นทำให้ได้ตลอดไป